อาจารย์ยุคใหม่ต้องเหมือน “7-Eleven”

1511 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หลายคนคงคุ้นกับสุภาษิตที่ว่า “ครูเปรียบเสมือน "เรือจ้าง” อาจารย์ก็เช่นกันเปรียบเสมือนเรือจ้างที่ยังคงคอยนำพานักศึกษาข้ามฝั่งให้ถึงฝัน หากแต่ว่ายุคสมัยเปลี่ยนไปนอกจากเรือจ้างแล้วครูอาจารย์ยังถูกเปรียบเหมือนกับปูชนียบุคคลที่เป็นที่เคารพต่างๆนานาตามแต่นักเรียนนักศึกษาจะให้นิยามแก่ครูอาจารย์ของเขา สำหรับที่มหาวิทยาลัยรังสิตมักมีนิยามใหม่ๆ ฉบับอาจารย์ 4.0 ว่า “เป็นอาจารย์ยุคใหม่ต้องทำตัวเหมือน “Seven-Eleven” เปิดตลอด 24 ชั่วโมง”

อาจารย์อาจารย์ปรเมศ ผลรัฐธนาสิทธิ์ หรือ อาจารย์ปอ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยรังสิตที่จบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ รุ่นที่ 13 และไปเรียนต่อด้านสถาปัตย์ฯในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยเหตุผลง่ายๆที่ว่า “อยากสร้างบ้านในแบบของตัวเอง ครอบครัว และคนอื่นๆ ที่เขามีความต้องการแบบบ้านในแบบของเขาจริงๆ จึงคิดว่าคณะนี้แหละที่จะทำให้ฝันเป็นจริงแน่นอน” แต่ด้วยเป็นคนเรียนไม่เก่งมากจึงคิดว่าตัวเองอาจจะสอบเอนทรานส์ไม่ติดในคณะดังๆ และเกรงว่าจะไม่ได้เรียนอย่างที่อยากเรียน ที่สำคัญก็อยากจะปลดแอกค่านิยมสมัยนั้นที่นิยมเรียนรัฐบาลมากกว่า และการตัดสินใจในวันนั้นจึงทำให้ได้เรียนสิ่งที่ใช่และสิ่งที่ชอบในสายนี้ที่ ‘ถาปัตย์รังสิต

หลังเรียนจบอาจารย์เห็นแววก็ดึงตัวให้มาเรียนต่อเพิ่มความรู้เรื่องแบบ การพัฒนาแบบอาคาร และเริ่มงานเขียนแบบและพัฒนาแบบ (Development) อาคารต่างๆ นอกจากจะเป็นสถาปนิกแล้ว อาจารย์ปอได้เข้ามาสู่สายอาชีพอาจารย์โดยได้รับการเชิญจากอาจารย์ผู้ใหญ่ให้ไปลองสอนในวิชาวัสดุก่อสร้างในฐานะอาจารย์พิเศษ เนื่องด้วยมีประสพการณ์และคลุคลีอยู่กับของจริงเป็นประจำ พอได้ลองชิมรางงานสอนเริ่มรู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่ทำให้มีความสุข ความสุขที่ได้ถ่ายทอดสิ่งที่ผมรู้ให้กับรุ่นน้องๆ เขาได้รู้ในสิ่งที่เขาไม่รู้ ซึ่งมันง่ายมากเพียงแค่เดินออกไปทำงานในอาชีพสถาปนิก และสิ่งที่เราเจอของจริงแล้วมาบอกต่อแค่นั้น นานไปเริ่มรู้สึกว่าอยากจะพัฒนาการเรียนการสอนให้มันเปลี่ยนจากเชิงทฤษฎีอย่างเดียวให้มันเริ่มเป็นของจริงมากขึ้น ด้วยว่าเราเคยเป็นนักศึกษามาก่อนก็จะเข้าใจธรรมชาติของนักศึกษา บางครั้งก็สนใจเรียนบ้างไม่สนใจบ้าง ช่วงเริ่มสอนนักศึกษาก็ไม่สนใจเหมือนกับสิ่งที่ผมพยามสื่อสารกับเขาเป็นสิ่งที่เขาไม่ต้องการรู้ เลยเปลี่ยนรูปแบบพยามหยิบจับเนื้อหาอะไรที่นักศึกษาสามารถเข้าใจได้ รับรู้ได้ง่าย นึกภาพออก พยามเป็นสื่อกลางในการบรรยายเพื่อทำให้เขาเข้าใจ จากวันแรกที่นักศึกษาก้มหน้าหรือว่าหันไปมองหรือหลับไม่ได้โฟกัสอาจารย์เท่าไรนัก ก็เริ่มมีการสื่อสารระหว่างกันไม่เข้าใจตรงไหน เรื่องอะไรขอให้บอกไม่รู้ก็จะหาข้อมูลมาทำความเข้าใจและส่งต่อให้ ซึ่งเป็นอย่างนี้มาตลอดตั้งแต่เริ่มเป็นอาจารย์เมื่อปี 2549 จนวันนี้ผ่านมากว่า 11 ปีแล้ว วิธีให้อิสระทางความคิดกับเด็กอยากรู้อะไรถามมาไม่จำกัดเวลาไม่จำกัดเรื่องจะวิชาเรียน วิชาชีวิต หรืออื่นๆ ขอให้บอกขอให้พูด ผมพร้อมให้ข้อมูลตลอดเหมือน “Seven-Eleven” เปิดตลอด 24 ชั่วโมง

ถ้าถามว่า อาจารย์และสถาปนิกมีความแตกต่างกันไหม? คงต้องบอกว่าคนที่ต้องดีลด้วยสำหรับอาชีพอาจารย์คือนักศึกษาส่วนสถาปนิกจะดีลกับลูกค้า ซึ่งมีความใกล้เคียงกัน หนึ่งคือก่อนที่เราจะให้ข้อมูล (Information) อะไรก็ต้องทำความเข้าใจกับเขาก่อนว่า สิ่งที่เรากำลังจะสอน หรือสิ่งที่เรากำลังจะออกแบบ มันมีหลักการหรือว่ามาตรฐานตรงไหนอย่างไรเพื่อให้เขาเห็นความสำคัญกับสิ่งที่เราทำก่อน เริ่มต้นด้วยการนำเสนอแนวความคิด (Concept) ในสิ่งที่นักศึกษาจะได้รับจากการเรียนการสอน ความจำเป็น ที่เป็นเรื่องสำคัญในการออกไปประกอบอาชีพ ตามมาด้วยกระบวนการวิธีการนำเสนอข้อมูล (Process) ที่ต้องสอดคล้องกับธรรมชาติของผู้รับข้อมูลด้วยทั้งนักศึกษาและลูกค้า แต่ละกลุ่มจะปรับรูปแบบตามความเหมาะสม ซึ่งเป็นสิ่งที่อาจารย์ปอจะศึกษาและประเมินก่อนการถ่ายทอดเสมอทำให้ได้รับการตอบรับอย่างดีที่สามารถเข้าถึงและเป็นส่วนหนึ่งของทุกคน เมื่อสังคมไปข้างหน้ากันหมดแล้ว ทุกคนต้องพร้อมไปข้างหน้าด้วยกัน เมื่อเรามองเห็นว่ายังนักศึกษาบางคนที่เขาไม่ได้ไปด้วยกันกับเรา หรือเขาไปไม่ไหว ผมอยากสร้างคนและพาคนเหล่านั้นไปด้วยกันด้วยความสามารถของตัวผมในฐานะอาจารย์ ผมต้องช่วยเหลือ พยุงอุ้มกันไปให้ได้ ถ้าหากทุกคนมาพร้อมกันเดินมาด้วยกันทั้งหมด สังคมเราจะยิ่งแข็งแรงขึ้น สุดท้ายในทุกๆปีที่เห็นนักศึกษารับปริญญาเราก็รู้สึกภูมิใจมาก เขาจบแล้ว เขาจะได้ออกไปทำงานของจริงซะที ผมเป็นอาจารย์ผมเห็นภาพเรื่องราวบนโลกโซเชียลผ่านfacebook ที่ผมยังเป็นเพื่อนอยู่นักศึกษาอยู่ ได้เห็นเขาไปทำงานจริง ถ่ายรูปหน้างาน ถ่ายรูปตอนประชุมกับลูกค้า เปิดบริษัท หรือว่ามีแบบได้ชนะประกวดแบบอะไรก็แล้วแต่ อันนั้นก็คือความภูมิใจแล้ว ไม่ได้ภูมิใจว่าเราทำให้เขาเป็นแบบนั้น แต่ภูมิใจว่าเราเป็นแค่ส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้เขาเห็นความสำคัญและรักอาชีพเขา การที่เขาแชร์รูปการทำงานนั่นแสดงว่าเขาได้รักอาชีพนี้ไปแล้ว

ปัจจุบันอาจารย์ปอคนนี้ นอกจากเป็นอาจารย์ประจำ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาชั้นปีที่ 2 การสอนวิชาโครงสร้างแล้ว ขณะเดียวกันก็เป็นเจ้าของบริษัทเป็นออกแบบสถาปัตยกรรมและโครงสร้าง คอยควบคุมงาน ก่อสร้างงานอาคาร บริษัท โพล่าร์ อาคิเต็ค จำกัด (Polar Architect Co, Ltdใ) อีกด้วย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้