6180 จำนวนผู้เข้าชม |
คณบดีคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เผยผลสำรวจภาวะการมีงานทำของศิษย์เก่า พบบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ส่วนใหญ่ได้งานทำก่อนจบการศึกษา และมีแนวโน้มในการเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมเพิ่มมากขึ้น
รองศาสตราจารย์นันทชัย ทองแป้น คณบดีคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เผยผลสำรวจภาวะการมีงานทำของศิษย์เก่าตั้งแต่รุ่นที่ 1 จนถึงรุ่นที่ 11 พบว่า บัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ของคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ส่วนใหญ่ได้งานทำก่อนจบการศึกษาและอย่างช้าสุดได้งานทำในระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือนหลังจบการศึกษาครบ 100% รวมทั้งมีแนวโน้มในการเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมเพิ่มมากขึ้น โดยทำการสำรวจมาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 272 คน คิดเป็นจำนวนประมาณร้อยละ 85 ของจำนวนบัณฑิตทั้งหมด ได้ข้อสรุปดังนี้
1.บัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต จำนวนโดยเฉลี่ย 40% ได้งานทำก่อนจบการศึกษาและที่เหลือจำนวนโดยเฉลี่ย 60% ได้งานทำหลังครบ 100% หลังจากจากจบการศึกษาในระยะเวลาประมาณไม่เกิน 2 เดือน
2.สำหรับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต รุ่นที่ 11 ที่เริ่มงานในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2559 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 22,593 บาท
3.สำหรับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต รุ่นที่ 1 คือ 72,425 บาท รุ่นที่ 2 51,214 บาท รุ่นที่ 3 49,750 รุ่นที่ 4 31,982 บาท รุ่นที่ 5 37,968 บาท รุ่นที่ 6 32,550 บาท รุ่นที่ 7 32,118 บาท รุ่นที่ 8 33,594 บาท รุ่นที่ 9 26,417 บาท รุ่นที่ 10 28,920 บาท และรุ่นที่ 11 22,593 บาท ตามลำดับ
4.อาชีพของบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ตั้งแต่รุ่นที่ 1-รุ่นที่ 11 ส่วนใหญ่ร้อยละ 54 เป็นวิศวกรการแพทย์ในโรงพยาบาลและบริษัทเอกชนที่ให้บริการทางด้านวิศวกรรมการแพทย์ รองลงมา ร้อยละ 34 ทำงานทางด้านการตลาดในบริษัทเอกชนที่ประกอบกิจการทางด้านเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ ร้อยละ 9 ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม ร้อยละ 2 ทำงานในสายนักวิชาการและนักวิจัยหรืออาจารย์ในระดับอุดมศึกษา และ ร้อยละ 1 เป็นวิศวกรในบริษัทผลิตเครื่องมือแพทย์
“จากผลการสำรวจดังกล่าว จะเห็นว่าวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่มุ่งสร้างวิศวกรทำหน้าที่เป็นวิศวกรซ่อมมนุษย์เป็นทางเลือกที่ไร้การแข่งขัน ซึ่งถือว่าเป็นคณะวิชาแห่งทะเลสีคราม หรือ Blue Ocean Faculty สำหรับปัจจุบันและอนาคตที่จะเติมเต็มทำให้วงการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพมีความครบถ้วนบริบูรณ์”